การดูภาพกล้องวงจรปิดผ่านอินเตอร์เนต

Last updated: 14 ธ.ค. 2561  |  716 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การดูภาพกล้องวงจรปิดผ่านอินเตอร์เนต

การดูภาพกล้องวงจรปิดผ่านอินเตอร์เนต

กล้องวงจรปิดผ่านอินเตอร์เนต  การควบคุมการไหลของข้อมูลด้วยการร้องขอส่งข้อมูลซ้ำแบบอัตโนมัติของช่องสัญญาณที่มีสัญญาณรบกวน  มีอยู่   3  โพรโทคอล  คือ

Stop – and –Wait  ARQ
Go – Back –N  ARQ
Selective –Repeat  ARQ

โพรโทคอล Stop – and – Wait  ARQ     การควบคุมการไหลของข้อมูลด้วยการหยุดและคอย   เป็นกลไกที่ง่ายและไม่มีความซับซ้อนในการทำงาน   ผู้ส่งจะต้องทำสำเนาข้อมูลที่จะส่งไว้ก่อนจนกว่าที่ผู้รับจะยืนยันว่าได้รับข้อมูลนั้นแล้ว  หากข้อมูลเกิดการสูญหายก็สามารถที่จะส่งข้อมูลไปให้ใหม่ได้  การยืนยันการตอบรับข้อมูลของผู้รับจะต้องส่งเฟรม  Acknowledge  มาให้ผู้ส่งเพื่อเป็นการบอกว่าได้รับเฟรมอะไร   ผู้ส่งจะมีการกำหนดเวลาเอาไว้หลังส่งเฟรมข้อมูล  ถ้าไม่ได้รับเฟรม  ACK  กลับมาในเวลาที่กำหนดจะต้องทำการส่งเฟรมข้อมูลนั้นกลับไปอีกครั้ง   ถ้าผู้รับได้รับเฟรมที่ผิดพลาดหรือเฟรมที่ไม่ต้องการก็จะไม่มีการส่งเฟรมใดๆ  ตอบกลับไป

โพรโทคอล Go – Back – N       การส่งเฟรมข้อมูลออกไปหลายๆ เฟรมก่อนที่จะได้รับเฟรม ACK   กลับมา  เพื่อให้สามารถใช้ช่องสัญญาณได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น    โพรโทคอล  Go – Back – N ทำการส่งเฟรมข้อมูลก่อนที่จะได้รับเฟรม  ACK  ผู้ส่งจะต้องทำการสำเนาเฟรมข้อมูลทั้งเฟรมเอาไว้   เฟรมข้อมูล  ACK  ทุกเฟรมจะมีการกำหนดหมายเลขลำดับซึ่งเป็นเลขจำกัดด้วย  เพื่อที่จะได้ทราบว่าเป็นเฟรมที่เท่าใด   และจะเริ่มจากซ้ายมือไปทางขวามือโดยเริ่มจากหมายเลข  0

โพรโทรคอล Selective –  Repeat     การทำงานของโพรโทคอล   Go – Back – N  ผู้รับจะรอรับเฟรมข้อมูลครั้งละเฟรมถือเป็นการทำงานที่ไม่ซับซ้อน  แต่ขาดประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่งถ้าสื่อที่ใช้ในการสื่อสารมีสัญญาณรบกวนมาก  สัญญาณรบกวนจะทำให้เฟรมข้อมูลเกิดการสูญหายหรือเสียหายเพิ่มขึ้น  ซึ่งทำให้การส่งข้อมูลโดยรวมช้าลง  จึงได้มีการคิดค้นโพรโทคอลที่สามารถทนต่อสัญญาณรบกวนได้มาก  สามารถส่งเฉพาะเฟรมข้อมูลที่สูญหายหรือเสียหายเท่านั้น  โดยไม่จำเป็นต้องส่งเฟรมอื่นๆ  ด้วย  กลไกหรือโพรโทคอลนี้เรียกว่า  "Selective – Repeat"   กลไกของการทำงานจะเป็นการบอกถึงเฟรมที่เสียหาย  ผู้ส่งจะต้องส่งเฟรมข้อมูลกลับมาใหม่อีกครั้ง


โพรโทคอล  HDLC

โพรโทคอลที่ออกแบบให้สามารถสื่อสารได้ทั้งแบบสองทางและกึ่งสองทาง   บนพื้นฐานของการเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารทั้งแบบจุดต่อจุด  และจุดต่อหลายจุด   วิธีในการสื่อสาร  2  รูปแบบ  คือ  NRM  และ  ABM

NRM การสื่อสารที่ต้องมีสถานีหลัก  1  สถานี  และสถานีรอง  สามารถมีได้หลายสถานี   สถานีหลักมีหน้าที่ส่งคำสั่งไปยังสถานีรอง  สถานีรองจะทำหน้าที่ตอบสนองต่อคำสั่งนั้น  ๆ

ABM ใช้กับการเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารแบบจุดต่อจุด   โดยทุกสถานีจะทำหน้าที่เป็นทั้งสถานีหลักและสถานีรองในเวลาเดียวกัน

เฟรมข้อมูลและโครงสร้างของเฟรม

การออกกแบบเฟรมข้อมูล  HDLC   ต้องให้ยืดหยุ่นกับวิธีการสื่อสารทั้งแบบ NRM  และ  ABM  ได้มีการกำหนดเฟรมข้อมูลไว้  3  ชนิด  แต่ละชนิดมีหน้าที่นำส่งข้อมูลแตกต่างกัน

I – Frame เป็นเฟรมที่ใช้สำหรับบรรจุข้อมูลของผู้ใช้และควบคุมความผิดพลาดจากการสูญหาย  เสียหาย  หรือส่งซ้ำ

S – Frame เป็นเฟรมที่ใช้สำหรับควบคุมความผิดพลาดของข้อมูลจากการสูญหาย  เสียหาย  หรือส่งซ้ำ

U – Frame เป็นเฟรมที่ใช้สำหรับการจัดการระบบ  เช่น  การสร้างการติดต่อ  หรือการยกเลิกการติดต่อ


www.nana-sat.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้